วันเสาร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ปัจจัยที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงความถี่ของแอลลีน


          ในภาวะสมดุลของ ฮาร์ดี-ไวน์เบิร์กนั้น ความถี่ของแอลลีลในประชากรแต่ละรุ่นจะไม่มีการเปลี่ยนแปลง แต่ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงความถี่ของแอลลีลในประชากรจะทำให้โครงสร้างทางพันธุ กรรมของประชากรมีการเปลี่ยนแปลงน้อยจนไม่สามารถสังเกตเห็นได้ นั่นคือประชากรเกิดวิวัฒนาการขึ้น การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางพันธุกรรมของยีนพูลในประชากรทีละเล็กทีละน้อยนี้ เรียกว่า วิวัฒนาการระดับจุลภาค ซึ่งถือได้ว่าเป็นการเกิดวิวัฒนาการในระดับสปีชีส์ของสิ่งมีชีวิต
          1. แรนดอมจีเนติกดริฟท์ (random genetic drift) คือ มีการเปลี่ยนแปลงความถี่ของแอลลีลที่เกิดขึ้นในประชากรที่มีขนาดเล็ก ไม่ได้เกิดจากการคัดเลือกโดยธรรมชาติ ทำให้บางแอลลีลไม่มีโอกาสถ่ายทอดไปยังรุ่นลูกได้
          แรนดอมจีเนติกดริฟท์  ที่พบในธรรมชาติมี 2 สถานการณ์ คือ ปรากฏการณ์คอขวด ( Bottleneck effect ) และ ผลกระทบจากผู้ก่อตัว ( Founder effect )

 
ตัวอย่าง ของ Founder effect
เช่น ประชากรบนเกาะ Tristan มีความถี่ยีนของโรค Retinitis pigmentosa

       วัวบนเกาะไอซ์แลนด์ที่ต่างจากวัวที่นอร์เวย์
  
          2. การถ่ายเทเคลื่อนย้ายยีน(gene flow) เกิดในลักษณะเช่น การแพร่กระจายของสปอร์ หรือละอองเรณูหรือเมล็ดระหว่างประชากรพืชจากพื้นที่หนึ่งแพร่กระจายไปยัง พื้นที่อื่น ทำให้ความถี่ของแอลลีลในประชากรทั้งสองมีแนวโน้มแตกต่างกันน้อยลงเรื่อยๆ จนในที่สุดเปรียบเสมือนเป็นประชากรเดียวกัน
  

           3. การเลือกคู่ผสมพันธุ์(non-random mating) ประชากรที่สมาชิกทุกตัวมีโอกาสผสมพันธุ์ได้เท่าๆกัน จะไม่มีผลต่อการเปลี่นแปลงความถี่ของยีนพูลของประชากรในทุกรุ่น แต่ในธรรมชาติโดยทั่วไปสมาชิกในประชากรมักจะมีการเลือกคู่ผสมพันธุ์ ทำให้สมาชิกบางส่วนไม่มีโอกาสได้ผลสมพันธุ์ จึงเกิดการเปลี่ยนแปลงความถี่ของแอลลีลในยีนพูล ของประชากรในรุ่นต่อไป
          4. มิวเทชัน(mutation) เป็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นทั้งในระดับยีน และในระดับโครโมโซมในลักษณะต่างๆ ซึ่งเกิดขึ้นได้เสมอในสภาวะปกติ การเกิดมิวเทชันอย่างเดียวไม่มีผลมากพอจะเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางพันธุกรรม ของยีนพูลในประชากรขนาดใหญ่ภายในรุ่นเดียว แต่เป็นการสร้างแอลลีลใหม่ที่สะสมไว้ในยีนพูลของประชากรทำให้เกิดความหลาก หลายทางพันธุกรรมของประชากรโดยธรรมชาติจะเป็นผู้คัดเลือกแอลลีลใหม่ที่เหมาะสมไว้ในประชากร 
 

 


     5. การคัดเลือกโดยธรรมชาติ(natural selection) ทำให้สมาชิกของประชากรที่มีลักษณะเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมมีจำนวนมากเพิ่มขึ้น ลักษณะที่ไม่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมจะถูกคัดทิ้ง

      จากปัจจัยต่างๆ ที่กล่าวมาทุกปัจจัยมีผลทำให้ความถี่ของแอลลีลที่เป็นองค์ประกอบทางพันธุกรรมในประชากร มีการเปลี่ยนแปลง แต่มีเพียงการคัดเลือกโดยธรรมชาติเท่านั้นที่การเปลี่ยนแปลงความถี่ของแอลลีลในประชากรทำให้มีลักษณะที่เหมาะสมกันสภาพแวดล้อม



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น