วันศุกร์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

พีรดา สิริธนพงศ์

  • วันที่ 13  กุมภาพันธ์  พ.ศ.2555
    • ได้ศึกษาในเรื่องวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต  หลักฐานที่ยืนยันว่าสิ่งมีชีวิตเหล่านี้นั้นมีวิวัฒนาการ และยังได้วิเคราะห์หลักฐานดังกล่าว. 
    • ได้รับมอบหมายให้ศึกษาในเรื่องของ หลักฐานจากกายวิภาคเปรียบเทียบ และ หลักฐานจากคัพภะวิทยาเปรียบเทียบ
หลักฐานจากกายวิภาคเปรียบเทียบ
   -ศึกษาโครงสร้างต่างๆในระยะโตเต็มวัย
   -ศึกษาลักษณะ แหล่งกำเนิด  หน้าที่และการทำงานของอวัยวะ

            สิ่งมีชีวิตบางชนิดเมื่อเราดูจากลักษณะภายนอกจะเห็นว่ามีลักษณะต่างกัน แต่เมื่อพิจารณาถึงโครงสร้างรยางค์คู่หน้าจะพบว่ามีลักษณะที่คล้ายคลึงกัน การที่สิ่งมีชีวิตมีโครงสร้างของอวัยวะบางอย่างคล้ายคลึงกันแม้ว่าจะทำหน้าที่แตกต่างกันก็ตาม เช่น แขนคน ขาแมว รยางค์คู่หน้าของวาฬ และปีกค้างคาว เราเรียกโครงสร้างลักษณะนี้ว่า ฮอมอโลกัส (homologous structure) ความคล้ายคลึงกันของโครงสร้างลักษณะนี้เป็นหลักฐานที่สนับสนุนว่าสิ่งมี ชีวิตนั้นๆมีวิวัฒนาการมาจากบรรพบุรุษเดียวกัน
 
กายวิภาคเปรียบเทียบของแขนคน ขาแมว รยางค์คู่หน้าของวาฬและปีกค้างคาว

      ในกรณีของสิ่งมีชีวิตที่มีอวัยวะที่ทำหน้าที่เหมือนกัน เช่น ปีกแมลง และปีกนก หากพิจารณาถึงโครงสร้างกายวิภาคจะพบว่ามีลักษณะที่แตกต่างกัน เราเรียกโครงสร้างที่มีลักษณะต่างกันแต่ทำหน้าที่เหมือนกันนี้ว่า อะนาโลกัส (analogous structure)

กายวิภาคเปรียบเทียบของปีกแมลงและปีกนก

หลักฐานจากคัพภะวิทยาเปรียบเทียบ
   -ศึกษาการเจริญเติบโตในระยะเอ็มบริโอ
   -ศึกษาความคล้ายคลึงกันของการเจริญเติบโตในระยะเอ็มบริโอ 
            แอร์นสต์ เฮคเคล (Ernst Haeckel, พ.ศ.2377-2462) เป็นผู้ที่ศึกษาและได้ตั้งทฤษฎีจากการดูหลักฐานการเจริญเติบโตของเอ็มบริโอ เรียกว่า ทฤษฎีการย้อนซ้ำลักษณะ (Theory of Recapitulation) ซึ่งกล่าวว่า การเจริญเติบโตของสัตว์จากระยะตัวอ่อนจนถึงขั้นตัวเต็มวัยจะเป็นการย้อนรอย หรือแสดงลักษณะที่เหมือนกับการวิวัฒนาการของบรรพบุรุษ
          จาก ภาพการเจริญเติบโตของเอ็มบริโอของสัตว์มีกระดูกสันหลังชนิดต่างๆจะพบความ คล้ายคลึงกันในส่วนของการมีช่องเหงือกและหาง จนเมื่อสัตว์มีกระดูกสันหลังแต่ละชนิดเติบโตเป็นตัวเต็มวัยลักษณะของการมี ช่องเหงือกยังคงอยู่ในสัตว์บางชนิดเช่น ปลาและซาลามานเดอร์ แต่ไม่คงอยู่ในสัตว์มีกระดูกสันหลังชนิดอื่น ทั้งนี้เพราะเกิดการปรับเปลี่ยนรูปร่างไปให้เหมาะสมต่อการดำรงชีวิตนั่นเอง ซึ่งลักษณะที่คล้ายคลึงกันในระหว่างการเจริญเติบโตของเอ็มบริโออาจบ่งชี้ถึง การวิวัฒนาการมาจากบรรพบุรุษร่วมกันได้
 
รูปการเจริญเติบโตของเอ็มบริโอระยะต่างๆของสัตว์มีกระดูกสันหลัง 

  • วันที่ 14  กุมภาพันธ์  พ.ศ.2555
    • ทำกิจกรรมใบงานที่ 14 เรื่อง แนวคิดเกี่ยววิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต
    • ได้ศึกษาในเรื่องแนวคิดวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตของลามาร์ก และดาร์วิน 
     
  •  วันที่ 21  กุมภาพันธ์  พ.ศ.2555
    • ศึกษาและสืบค้นในเรื่องของ พันธุศาสตร์ประชากร ด้านทฤษฎีของฮาร์ดี - ไวน์เบิร์ก ปัจจัยที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของแอลลีล กำเนิดของสปีชีส์




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น